เครื่องพิมพ์ 3 มิติ (3D Printer)
Anycubic Kobra 2 Max
ELEGOO Neptune 4 MAX
Formlabs Form 3L
Formlabs Form 4BL Premium Package
Formlabs Form 4BL Complete Package
Formlabs Form 4BL Basic Package
Formlabs Form 4L Premium Package
Formlabs Form 4L Complete Package
Formlabs Form 4L Basic Package
Formlabs Form 4B Premium Dental Package
Formlabs Form 4B Complete Package
Formlabs Form 4B Basic Package
Formlabs Form 4 Premium Package
Formlabs Form 4 Complete Package
Formlabs Form 4 Basic Package
เครื่องพิมพ์ 3 มิติ
เครื่องพิมพ์ 3 มิติ (3D Printer) เข้ามาเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญในการสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ ผลิตชิ้นงาน โดยเครื่องพิมพ์ 3 มิติหรืออุตสาหกรรมการผลิตแบบเติมเนื้อ (Additive Manufacturing) เป็นความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่หลายอุตสาหกรรมเลือกใช้ สามารถผลิตชิ้นงานที่มีความซับซ้อนได้ ช่วยสร้างชิ้นงานใหม่ ๆ ลดเวลาในการทำงาน แถมยังช่วยลดต้นทุนการผลิตได้อีกด้วยเมื่อเทียบกับการใช้เทคโนโลยีหรือวิธีการแบบดั้งเดิม
Septillion มีเครื่องพิมพ์ 3 มิติ หรือเครื่องปริ้น 3 มิติให้เลือกมากกว่า 150 รุ่น ด้วยเทคโนโลยี FDM 3D Printer ที่นิยมใช้มากที่สุด และเทคโนโลยีเครื่องพิมพ์ 3 มิติอื่น ๆ อีกมากมาย เรามี 3D Printer ราคาพิเศษจากแบรนด์ดังทั่วโลก เช่น Ultimaker, Formlabs, EOS, Zortrax, Flashforge รองรับทุกความต้องการที่เหมาะสมกับธุรกิจทุกขนาด ตั้งแต่ระดับเริ่มต้นไปจนถึงระดับอุตสาหกรรม
3D Printer คืออะไร
3D Printer คือ การผลิตหรือขึ้นรูปชิ้นงาน 3 มิติที่จับต้องได้ด้วยกระบวนการเติมเนื้อวัสดุเป็นชั้น ๆ โดยไม่ต้องอาศัยแม่พิมพ์ หรือเรียกว่า Additive Process เป็นกระบวนการที่สามารถผลิตและขึ้นรูปชิ้นงานที่มีความซับซ้อนได้อย่างแม่นยำและมีความรวดเร็ว โดยวัสดุที่ใช้ขึ้นงานไม่ได้จำกัดแค่เพียงพลาสติกเรซิ่นหรือเส้นพลาสติกเท่านั้น แต่ยังสามารถใช้กับวัสดุอย่างอื่นได้ด้วย เช่น โลหะ, ไฟเบอร์, เรซิ่น และผงวัสดุ เป็นต้น
จุดเด่นของ 3D Printer ที่หลายอุตสาหกรรมเลือกใช้
ข้อจำกัดในการผลิตชิ้นงานด้วยกระบวนการเติมเนื้อวัสดุจะมีน้อยกว่า เมื่อเทียบกับกระบวนการดั้งเดิมอย่างการกัด กลึง เจาะ ที่จะต้องเสียเนื้อวัสดุที่ไม่ต้องการไป หรือเรียกว่า Subtractive Manufacturing เครื่องพิมพ์ 3 มิติ (3D Printer) จึงถูกนำไปใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา การแพทย์ ทันตกรรม อัญมณี การบินและอวกาศ ยานยนต์ โรงงานอุตสาหกรรม แผนที่ และโมเดล 3 มิติ
การทำงานของเครื่องพิมพ์ 3 มิติ (3D Printer)
สำหรับการทำงานของเครื่องปริ้น 3D เพื่อผลิตหรือขึ้นรูปชิ้นงานในอุตสาหกรรมต่าง ๆ จะต้องมีการออกแบบชิ้นงานก่อนเสมอ Computer-Aided Design (CAD) เป็นโปรแกรมออกแบบชิ้นงานที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต เนื่องจากมีความรวดเร็วแต่ก็มีความแม่นยำสูง ทำให้ชิ้นงานออกมาตรงตามความต้องการและมีความสมบูรณ์แบบมากที่สุด เมื่อนำไฟล์งานออกแบบที่มีนามสกุล STL ไปเข้าโปรแกรม Slicer กำหนดค่าต่าง ๆ ตามต้องการ และเลือกวัสดุที่จะใช้พิมพ์ชิ้นงาน จากนั้นเครื่องปริ้น 3D จะทำการคำนวณและพิมพ์งานออกมาเป็นชั้น ๆ (Layer) จนเสร็จ
เทคโนโลยีเครื่องพิมพ์ 3 มิติ (3D Printer) ที่นิยมใช้
เทคโนโลยีการพิมพ์มีความก้าวหน้าและพัฒนาอยู่เสมอ เพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของอุตสาหกรรมการผลิตทุกรูปแบบ ต่อไปนี้เป็นเทคโนโลยีเครื่องพิมพ์ 3 มิติ (3D Printer) ที่นิยมใช้มากที่สุด
1. Fused Deposition Modelling (FDM)
Fused Deposition Modelling (FDM) หรือเทคโนโลยีการพิมพ์แบบ Material Extrusion กระบวนการพิมพ์ 3 มิติที่นิยมใช้มากที่สุด FDM คือ หนึ่งเทคโนโลยีการผลิตด้วยกระบวนการเติมเนื้อ (Additive Process) ด้วยการทำให้พลาสติกโดนความร้อนจนละลายแล้วฉีดขึ้นรูปออกมาผ่านหัวพิมพ์ โดยพลาสติกที่นิยมใช้คือ PLA, ABS, Nylon, TPU, ASA, PEI มักใช้ในการสร้างชิ้นงานที่ต้นทุนต่ำ หรือสร้างต้นแบบชิ้นงานเพื่อตรวจสอบการออกแบบก่อนผลิตชิ้นงานจริง
FDM 3D Printer ดีอย่างไร?
เทคโนโลยีการพิมพ์ FDM มีข้อดีหลายอย่าง โดยเฉพาะเรื่องต้นทุนในการผลิตค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติแบบอื่น ทำให้เหมาะสำหรับการสร้างต้นแบบชิ้นงาน การผลิตชิ้นงานขนาดเล็กในปริมาณไม่มาก หรืองานที่ไม่ต้องการความละเอียดมากนัก นอกจากนี้ กระบวนการผลิตยังง่ายและรวดเร็ว ถ้าชิ้นงานมีข้อผิดพลาด ก็สามารถปรับแก้ไขแบบจำลองและพิมพ์ใหม่ได้อย่างรวดเร็ว
2. Vat Photopolymerisation
Vat Photopolymerisation เป็นการใช้เลเซอร์ยิงแสง UV เพื่อให้น้ำเรซิ่นแข็งตัวจนขึ้นรูป โดยจะแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ Stereolithography (SLA) และ Digital Light Processing (DLP) สำหรับกระบวนการพิมพ์นี้เมื่อขึ้นรูปเสร็จแล้ว การใช้เรซิ่นบางชนิดจะต้องนำไปล้างและอบชิ้นงานหลังการพิมพ์ด้วย Vat Photopolymerisation เครื่องปริ้น 3D เรซิ่นมักใช้ในการสร้างแม่พิมพ์ งานโมเดล เนื่องจากชิ้นงานที่ได้จะมีพื้นผิวเรียบกว่าเมื่อเทียบกับ FDM ข้างต้น
3. Powder Bed Fusion (PBF)
Powder Bed Fusion (PBF) เป็นการใช้พลังงานความร้อนทำให้ผงวัสดุพลาสติกหรือผงโลหะละลาย ด้วยการยิงเลเซอร์ไปที่ผงวัสดุจนละลายและจับตัวขึ้นรูป สำหรับกระบวนการพิมพ์นี้ไม่จำเป็นต้องมีโครงสร้าง Support หรือตัวค้ำยันชิ้นงาน โดยวัสดุที่นิยมใช้คือ Nylon, TPU, Carbon filled, Glass filled, PA 11 มักใช้ในการผลิตต้นแบบและการผลิตชิ้นส่วนพลาสติก